Beyond 4Cs เคล็ดลับการซื้อเพชรแบบมือโปร

มีลูกค้าถามกันมาเยอะว่าเพชรของร้านลีลาเจมส์มีเกณฑ์การคัดยังไง ทำไมมันดูวิบวับจับใจ หมวยเลยพยายามเรียบเรียงให้เข้าใจง่ายที่สุดนะคะ ขอเกริ่นก่อนเลยว่าเนื้อหาเจาะลึกมากกว่า 4Cs หรือหลักการดูเพชรเบื้องต้น ถ้าใครอ่านแล้วมีคำถามเพิ่มเติม ไลน์มาหากันที่ @leelgems (มี @) ได้เลยนะคะ 

สำหรับใครที่ยังไม่มีพื้นฐานการดูเพชรเบื้องต้น หรือที่เรียกกันว่าหลัก 4Cs เลย สามารถคลิกอ่านได้ที่ลิงค์นี้ค่ะ >> https://www.leelagems.com/content/6571/หลักการดูเพชร-4cs

 

ความสำคัญอันดับแรกในการซื้อเพชรน้ำหนัก 0.18 กะรัตขึ้นไป คือ "จำเป็นต้องมีใบเซอร์" ค่ะ เหตุผลอันดับหนึ่งคือมั่นใจได้ว่าเป็นเพชรแท้แน่นอน (แต่จะสวยไม่สวยก็ต้องดูรายละเอียดบนใบเซอร์กันอีกทีนะคะ)
ใบเซอร์ที่หมวยชอบที่สุดก็คือ GIA ด้วยความที่เค้าเป็นสถาบันเบอร์ 1 ของโลก มาตรฐานทุกอย่างคือเป๊ะที่สุดแล้ว สมัยก่อนมักจะมีการเข้าใจผิดว่าเพชรใบเซอร์ราคาแพง แต่จริงๆแล้วค่าตรวจและออกใบเซอร์เพชรที่ GIA นั้นแค่หลักพันเท่านั้นเองค่ะ (ไซส์กะรัต ประมาณ 3 พันกว่าบาท) ดังนั้น ถ้าคุณไม่ได้มีความชำนาญหรือเครื่องไม้เครื่องมือเพียบพร้อม ก็ให้ GIA เป็นคนดูให้ดีกว่าค่ะ เพราะการดูผิดพลาดแม้เพียงนิดเดียว อาจจะทำให้เสียเงินซื้อแพงไปเป็นหมื่น เป็นแสน หรือมากกว่านั้นก็เป็นได้ค่ะ

แล้วใบเซอร์สถาบันอื่นๆล่ะ สเป็คเดียวกันเลย ทำไมราคาถูกกว่าของ GIA ตั้งเยอะ

>> ตอบง่ายๆก็คือมาตรฐานต่างกันค่ะ เช่น เพชรเม็ดเดียวกัน GIA ให้เกรด G color (น้ำ 97), ความสะอาด vvs2 ในขณะที่สถาบันอื่นๆอาจจะปล่อยเกรดเป็น F (น้ำ 98) หรือ E (น้ำ 99), ความสะอาด IF หรือ vvs1 เป็นต้นค่ะ
(อาจจะมีคนเถียงว่าไม่จริงหรอก สถาบันอื่นก็น่าจะมาตรฐานเดียวกันแหละ) ให้ลองนึกภาพดูว่าถ้าเราเป็นบริษัทเจียระไนเพชร ถ้าส่งเพชรไปออกใบเซอร์ที่ GIA แล้วจะขายได้ราคาสูงกว่าสถาบันอื่นๆ แบบนี้ใครจะอยากส่งเพชรไปออกใบเซอร์ที่อื่นล่ะคะ จริงมั้ย   แต่เพราะเค้ารู้ว่าเพชรเม็ดนั้นต้องมี something wrong ที่ออกเซอร์ GIA แล้วจะได้ผลไม่ดีนัก เค้าจึงส่งไปสถาบันอื่นๆซึ่งปล่อยเกรดมากกว่าค่ะ

สรุปสั้นๆก็คือ ถ้าอยากได้เพชรสวยมาตรฐานสากลก็ควรซื้อเพชร GIA แต่ถ้าอยากได้ใบเซอร์ที่ผลออกมาสวยหรูโดยไม่ต้องแคร์ว่าเพชรจริงจะเป็นยังไง ก็ซื้อเพชรใบเซอร์อื่นๆได้ค่ะ ^^

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ GIA ได้ที่ https://www.leelagems.com/content/10003/gia-คืออะไร

 

ขออธิบายเป็นการสมมติเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจนะคะ
สมมติว่าเพชรน้ำ 100 เปรียบเหมือนน้ำสะอาดใสบริสุทธิ์ 100%
เพชรน้ำ 95 คือการหยดสีเหลือง 5 หยด ลงไปในแก้วน้ำสะอาดนั้น ทำให้เพชรดูออกเหลืองอ่อนๆ แต่นอกจากโทนสีเหลืองแล้ว เพชรยังมีโทนสีอื่นๆอีก เช่น น้ำตาล เขียว ลองจินตนาการดูนะคะ หากเราหยดสีน้ำตาล 5 หยดลงในน้ำสะอาดอีกแก้ว แล้วเอามาเปรียบเทียบกับแก้วสีเหลือง เราจะรู้สึกได้ว่าแก้วสีน้ำตาลดูเข้มกว่า ซึ่งกับเพชรก็เหมือนกันค่ะ

เวลาที่ GIA ให้เกรดในเรื่องของสี (color) เค้าจะดูจากความเข้มข้นของระดับสี แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นโทนสีอะไร ดังนั้น ถ้าเราซื้อเพชร i color (น้ำ 95) เหมือนกัน เพชรที่ติดโทนน้ำตาล จะเห็นสีชัดเจนกว่าเพชรโทนสีเหลือง

สรุปก็คือ เนื่องจาก GIA ไม่ได้ระบุว่าเพชรเป็นโทนสีอะไร เรื่องนี้จึงต้องอาศัยการดูเอาเองหรือความเชื่อใจในร้านค้าเป็นหลักค่ะ

 

ความเข้าใจผิดที่พบบ่อยมากคือ เพชร 3EX นั้นเล่นไฟสวยทุกเม็ด ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เพชร 3EX ไม่ถึงครึ่งนึงเลยค่ะที่จะเล่นไฟได้สวยจริงๆ

การเจียระไนให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสมนั้นสำคัญมากๆ (ส่วนตัวหมวยเห็นว่าสำคัญกว่าเรื่องความสะอาดอีกค่ะ เพราะถ้าซื้อเพชรระดับ vs2 ขึ้นไป เราไม่สามารถเห็นตำหนิได้ด้วยตาเปล่าอยู่แล้ว) ถ้าเสียเงินแพงๆซื้อเพชรขาว สะอาด แต่สัดส่วนไม่สวย ซื้อมาแล้วเพชรดูนิ่งๆไม่วิบวับ อันนี้คงเซ็งเลย จริงมั้ยคะ

หมวยสรุปปัจจัยหลักๆสำหรับการดูสัดส่วนเพชรเป็น 4 ส่วนด้วยกันนะคะ
1. Total depth หรือความลึกของเพชร (เพชรจะดูเล็กหรือใหญ่ ขึ้นอยู่กับค่านี้เลยค่ะ)
2. Crown angle & pavilion angle คือองศาตามที่หมวยวงไว้ให้ดูในรูป ซึ่งส่งผลต่อการสะท้อนแสงของเพชร
3. Table size หรือด้านหน้าเพชร
4. Culet หรือก้นเพชรค่ะ

ดูรายละเอียดได้จากในรูปถัดๆไปนะคะ

 

Total depth คือตัวชี้วัดว่าเพชรของเรามีขนาด (measurement) เหมาะสมกับน้ำหนัก (carat weight) มั้ย

ขอยกตัวอย่างแบบ extreme case เพื่อให้เห็นภาพนะคะ มีลูกค้าไปเจอเพชรไซส์กะรัต น้ำ 100, vvs2 มาในราคาแค่ 26x,xxx บาท แม้จะไม่ใช่เหลี่ยม 3EX แต่ราคาถูกและน่าซื้อมากๆเลยค่ะ (ปกติถ้าเพชรสเป็คนี้ เหลี่ยม 3EX ราคาจะประมาณ 3 แสนกลางๆ) พอส่งใบเซอร์เข้ามาดู ปรากฏว่าเพชรเม็ดนี้มี total depth = 64.6% และมีหน้ากว้าง measurement = 6.20 mm ซึ่งเทียบเท่ากับเพชรขนาด 0.90 กะรัต
พอเห็นแบบนี้แล้ว หมวยแนะนำว่าให้ซื้อเพชร 0.90 กะรัต สเป็คเดียวกัน (D color, vvs2) ที่สัดส่วนสวยๆราคาเพียง 2 แสนต้นๆ ดีกว่าจ่ายเงินซื้อเพชรไซส์กะรัตเม็ดนี้ (ซึ่งแพงกว่า) แต่ได้เพชรหน้ากว้างเหมือน 90 ตังที่ลึกมากจนไม่สามารถเล่นไฟได้ดี มันไม่คุ้มค่าเลยจริงๆค่ะ

Total depth ที่หมวยแนะนำจะอยู่ในช่วง 59.5%-62.2% ค่ะ มากหรือน้อยกว่านี้นิดหน่อย แต่ถ้าปัจจัยอื่นๆสวยงาม ก็พออนุโลมได้นะคะ ^^

 

Crown angle และ pavilion angle คือองศาที่จะเป็นปัจจัยสำคัญว่าเพชรจะสามารถสะท้อนแสงกลับขึ้นหน้าเพชรได้ดีรึเปล่า

มุมที่หมวยแนะนำตามในรูป โดยมากแล้วเพชรจะเป็น hearts & arrows (คือถ้าส่องด้วยกล้องขยาย 10 เท่าหรือกล้องส่องพระ จะเห็นลูกศรเทาๆดำๆชัดเจนแบบในรูปด้านซ้าย ถ้าใครเห็นเป็นลูกศรสีขาว นั่นคือไม่ใช่ H&A ค่ะ)

เวลาดูให้เริ่มต้นจาก pavilion angle ก่อนนะคะ ค่าที่ใช้ได้จะมีแค่ 40.6, 40.8 หรือ 41.0 ค่ะ (41.2 องศาก็สามารถใช้ได้เป็นบางกรณีนะคะ โดยมากจะคู่กับ crown angle = 32.0 หรือ 32.5 ค่ะ แต่ถ้ามากกว่า 41.2 ไปแล้ว โอกาสที่จะเป็น H&A แทบไม่มีเลยค่ะ)

 

สำหรับใครที่รู้สึกว่ามันมีหลายตัวเลข จำยากเหลือเกิน หมวยแนะนำให้จำแค่ว่า pavilion angle ไม่ควรมากกว่า 41.0 ก็ถือว่าปลอดภัยในระดับนึงแล้วค่ะ (คือโอกาสที่จะได้เพชรสวยมีมาก ถึงแม้ crown angle ไม่เข้าข่ายตามที่แนะนำ แม้จะไม่สวยเป๊ะ แต่เพชรก็ยังเล่นไฟโอเคอยู่ค่ะ)

ในรูปนี้จะโชว์ตัวอย่างเพชร 2 เม็ด เมื่อถ่ายผ่านกล้องขยาย 10 เท่า ให้ดูว่าถ้าปัจจัยอื่นๆใกล้เคียงกัน ต่างกันแค่ pavilion angle

รูปบนคือ pavilion angle = 41.4 องศา มองแล้วเห็นเป็นลูกศรขาวๆลางๆ ก็คือเพชรไม่ใช่ H&A ค่ะ (ถ้าส่องด้วยกล้อง H&A scope อาจจะเห็นลูกศรลางๆ ซึ่งถ้าคนดูไม่เป็นอาจจะเข้าใจผิดว่าเพชรเป็น H&A ได้ค่ะ) หมวยเลยคิดว่านอกจากใช้ H&A scope แล้ว ให้ลองเช็คด้วยกล้อง 10X ดูอีกทีเพื่อความชัวร์ค่ะ

รูปล่าง pavilion angle = 40.8 องศา ลูกศรจะมีสีเข้ม คมชัดทั้ง 8 อันค่ะ

 

Table คือเหลี่ยมที่ใหญ่ที่สุด อยู่ด้านหน้าเพชร ซึ่งหลายๆคนอาจจะเข้าผิดใจไปว่าตัวเลข Table % นั้นคือขนาดของเพชร table ยิ่งใหญ่ยิ่งดี ซึ่งไม่ใช่นะค้าา ขนาดเพชรต้องดูที่ measurement ค่ะ 

Table (ส่วนที่ระบายสีฟ้าในรูป) เป็นเหมือนหน้าต่างเปิดให้แสงสว่างสะท้อนกลับขึ้นหน้าเพชร ในขณะที่พื้นที่ที่เหลือ จะเป็นส่วนที่แสงหักเหและสะท้อนสีรุ้ง (ประกายสีส้มๆฟ้าๆ หรือศัพท์เทคนิคเรียกว่า fire)

ดังนั้น ถ้าเพชรมี table ใหญ่มากๆ เพชรก็จะดูสว่าง แต่ประกายระยิบระยับจะน้อย และในทางตรงกันข้าม ถ้าเพชรมี table เล็ก เพชรจะดูมืดแต่ระยิบระยับเหลือเกิน เราจึงควรเลือก table ให้พอดีๆ ซึ่งปกติหมวยจะใ้ช้อยู่ในเกณฑ์ 55%-60% ค่ะ

อย่างไรก็ตาม table ไม่ได้เป็นส่วนสำคัญต่อการเล่นไฟของเพชรเมื่อเทียบกับ crown & pavilion angle เช่น ถ้าเพชรมี crown angle และ pavilion angle ไม่ลงตัว (let's say, pavilion angle = 41.8 องศา) แม้จะมี table กำลังพอดีที่ 58% ช่วงตรงกลางเพชรก็จะดูมืดเพราะก้นเพชรลึกเกินไปอยู่ดีค่ะ

ส่วน culet หรือก้นเพชร ปกติก็มีค่าเป็น none คือมีปลายแหลม แต่บางกรณีที่ culet = very small เพชรก็ยังได้ cut grade เป็น excellent และไม่ได้ส่งผลอะไรต่อความสวยงามของเพชรค่ะ

 

มาถึงเรื่องตำหนิกันบ้างนะคะ ในรูปตัวอย่างคือเพชรที่มี clarity grade = vs2 ทั้ง 2 เม็ดค่ะ ตำหนิของเพชรทั้ง 2 เม็ดยังไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่เมื่อส่องด้วยกล้องขยาย 10x ตำหนิที่อยู่กลาง table (ส่วนที่ระบายสีเหลือง) จะเห็นได้ง่ายกว่าตำหนิที่อยู่ในตำแหน่งอื่นๆ ดังนั้น ถ้าปัจจัยอื่นๆเหมือนๆกัน เพชรที่ตำหนิอยู่กลางหน้าจะมีราคาถูกกว่าค่ะ

ขอยกตัวอย่างอีกเคสที่พบบ่อย สมมติว่ามีเพชร 1.01 ct D color (น้ำ 100), vs2, 3EX, none ใบเซอร์ GIA เหมือนกัน 2 เม็ด
เม็ดที่ 1 สัดส่วนทุกองศาสวยเป๊ะ แต่ตำหนิอยู่ตรงกลาง ในขณะที่เม็ดที่ 2 ตำหนิอยู่ริม แต่เพชรก้นลึก เล่นไฟไม่ดี ส่วนตัวแล้วหมวยจะเลือกเม็ดที่ 1 เพราะหมวยให้ความสำคัญกับการเล่นไฟของเพชร มากกว่าเรื่องตำหนิซึ่งมองด้วยตาเปล่าแล้วก็ไม่แตกต่างกันค่ะ (แต่ทางร้านเราก็พยายามเฟ้นหาทั้งเพชรที่สัดส่วนเป๊ะและตำหนิหลบริมๆมาขายนะคะ ^^)

 

เจาะลึกไปอีกนิด ถึงเรื่อง internal graining และ surface graining นะคะ

graining คือความผิดปกติของโครงสร้างเพชร (irregularity in a diamond's structure) ซึ่งมักจะเป็นลายเส้นโปร่งใส โดย GIA มักจะระบุไว้ในส่วนของ comment ใสกรณีที่เพชรมี graining ค่ะ

สำหรับเพชรที่มีความสะอาดระดับ IF - vs2 นั้น graining จะส่องเห็นได้ยาก และไม่ได้ส่งผลต่อความสวยงามของเพชรเท่าไรนัก แต่เพชรที่มี graining ก็ยังมีราคาถูกกว่าเพชรที่ไม่มี (ถ้าปัจจัยอื่นๆเหมือนๆกัน) เนื่องจาก graining ไม่เป็นที่นิยมค่ะ

เพชรความสะอาดระดับ internally flawless หรือ IF ก็สามารถมี surface graining ได้นะคะ ซึ่งมันไม่ส่งผลใดๆต่อความสวยงามของเพชร แต่จะทำให้ราคาถูกลงค่ะ (อันนี้แล้วแต่ความชอบ แต่หมวยมักจะเลือกเพชรที่ไม่มี graining ค่ะ) ^^

ส่วนเพชรที่มีความสะอาดระดับ si1 เป็นต้นไป การมี graining มากๆอาจจะส่งผลให้เพชรดูมัวๆ (hazy) หรือบางครั้งอาจจะส่งผลถึงความแข็งแรง (durability) ของเพชรเลยก็เป็นได้ค่ะ

 

สุดท้ายแล้ว มาพูดถึง comments บนใบเซอร์ GIA กันค่ะ ^^

หากมีข้อความอะไรที่ GIA เค้าอยากจะบอกเพิ่มเติมเกี่ยวกับเพชรเม็ดนั้นๆ เค้าจะระบุไว้ที่ comments ค่ะ ซึ่ง comments ที่พบบ่อยๆมักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสะอาด เช่น additional pinpoints/ clouds/ twinning wisps are not shown. ซึ่งถ้าเพชรมี comment เหล่านี้ plot มักจะดูสวยสะอาดกว่าปกติ ก็เพราะว่ายังมีตำหนิอื่นๆ (มักจะเป็นตำหนิเล็กๆ ไม่ได้มีนัยสำคัญ (เป็น minor inclusion) แต่อาจจะกระจายเป็นวงกว้าง) ที่ GIA เค้าไม่สามารถจะ plot ลงไปได้หมด ก็เลยเอามาใส่ไว้ที่ comments แทนค่ะ

เพชรความสะอาดระดับ vs2 ลงไป บางเม็ดมี plot สะอาดเกลี้ยงเกลาอย่างกับเพชร IF เลยค่ะ แต่จะมี comment ว่า clarity grade is based on clouds/ twinning wisps that are not shown. ก็คือเพชรได้เกรด vs2 ก็เพราะว่ามี clouds/ twinning wisps กระจายตัวบางๆ ซึ่งทาง GIA เค้าไม่สามารถ plot ได้ (เพราะถ้า plot คนซื้ออาจจะตกใจเพราะมันจะดูเต็มไปหมด ทั้งที่เพชรจริงมันก็ไม่ได้เห็นได้ชัดเจนอะไรนัก) อันนี้ก็ควรจะต้องดูเพชรจริงประกอบกันนะคะ เพราะบางเม็ด clouds ก็อาจจะกระจายตัวจนทำให้เพชรดู milky คือดูขุ่นๆเหมือนน้ำนมจางๆค่ะ

 

จริงๆยังมีรายละเอียดอื่นๆอีกเยอะมากๆในการคัดสรรเพชรน้ำงามที่สุด สามารถสอบถามเพิ่มเติมเข้ามาทาง Line OA : @leelagems (https://lin.ee/kBOSBWK) กันได้เลยนะคะ ^^

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้